เคล็ดลับสร้างความประทับใจตั้งแต่โชว์แรก…แล้วโอกาสครั้งต่อไป

บล็อกนี้เขียนโดย Rich Nardo

ไม่ว่าคนอื่นจะบอกคุณอย่างไร ประสบการณ์ดนตรีดิจิทัลยังไม่สามารถเทียบเท่ากับการเชื่อมโยงกับแฟนๆ ผ่านการแสดงสดได้ ความรู้สึกที่เกิดจากดนตรีสดนั้นมีผลกระทบกับเราอย่างลึกซึ้ง ไม่ว่าจะเป็นความทรงจำร่วมกับคนที่อยู่รอบตัว หรือความคิดถึงในช่วงเวลาหนึ่งของชีวิต

อาจเป็นความรู้สึกบางอย่างที่ลึกลงไปกว่านั้น เป็นการเชื่อมโยงจังหวะในธรรมชาติกับเสียงกลองและเบสที่สะท้านไปทั่วร่างกาย ไม่ว่าด้วยเหตุผลใด การแสดงสดยังคงเป็นวิธีที่ดีที่สุดในการสร้างแฟนพันธุ์แท้และต่อต้านวัฒนธรรมดนตรีแบบ “มาแล้วก็ไป” ในปัจจุบัน

แต่การสร้างฐานแฟนคลับจากการแสดงสดไม่ใช่เรื่องง่าย คุณต้องทุ่มเทเวลาในการฝึกซ้อมอย่างหนักและโปรโมตการแสดงอย่างต่อเนื่อง อาจจะดูเหนื่อยและสำเร็จไม่เกิดขึ้นในทันที แต่ถ้าคุณทำงานหนัก คุณจะค่อยๆ ก้าวจากการแสดงในบาร์เล็กๆ ไปสู่สถานที่ที่ดีกว่าได้ และไม่มีอะไรเทียบได้กับความรู้สึกดีใจที่ไม่อาจบรรยายได้เมื่อคุณแสดงต่อหน้าผู้ชมเต็มห้อง และถ้าโชคดี คุณอาจได้รับฐานแฟนคลับที่มั่นคงจากการแสดงเหล่านั้น

นี่คือเคล็ดลับในการจองงานแสดงครั้งแรกของคุณ และทำอย่างไรให้ถูกเชิญกลับมาอีกครั้ง!

1. เป็นมืออาชีพในการเสนอการแสดงของคุณ

ถึงแม้โปรโมเตอร์จะรู้ว่าคุณจองงานเอง แต่พวกเขาก็ยังต้องการความมั่นใจว่าคุณจะให้ความสำคัญกับคืนการแสดงอย่างจริงจัง จำไว้ว่าพวกเขาอาจได้รับคำขอจองการแสดงหลายร้อยครั้งในสัปดาห์นั้น ลองถามตัวเองว่าอะไรที่จะทำให้พวกเขาเลือกคุณมากกว่าวงอื่นๆ? วิธีการทำให้ดูเป็นมืออาชีพมีดังนี้:

  • ใช้หัวข้ออีเมลที่กระชับและชัดเจน (เช่น: Booking Inquiry – The Beatles October Date @ MSG?)

  • ในเนื้อหาของอีเมล ควรมีข้อมูลเกี่ยวกับดนตรีของคุณ ที่มาของคุณ และประวัติการแสดงใดๆ รวมถึงลิงก์ที่โปรโมเตอร์สามารถฟังเพลงของคุณและเช็คโซเชียลมีเดียของคุณได้

  • อย่ามีคำผิด!

  • หากไม่ได้รับการตอบกลับ ให้ติดตามผลภายใน 3-5 วันหลังจากส่งคำขอไปแล้ว และอย่าลังเลที่จะโทรศัพท์ หรือติดต่อหาผู้จัดโดยตรงอย่างสุภาพ

2. ติดต่อกับโปรโมเตอร์ก่อนการแสดงของคุณ*

ไม่มีอะไรทำให้โปรโมเตอร์กังวลมากไปกว่าการจองวงดนตรีแล้วไม่ได้รับข่าวจากพวกเขาจนกระทั่งคืนที่วงมาถึงสถานที่ จึงควรอัปเดตโปรโมเตอร์เกี่ยวกับสิ่งที่คุณกำลังทำเพื่อดึงดูดคนมาชมการแสดงของวง นอกจากนี้ยังควรแชร์สื่อโปรโมทต่างๆ เช่น อีเวนต์บน Facebook หรือใบปลิวให้กับโปรโมเตอร์ด้วย เพื่อให้โปรโมเตอร์มั่นใจว่าคุณกำลังทำการโปรโมทและอาจจะช่วยกระจายข่าวด้วย

3. โปรโมทบนโซเชียลและขอให้เพื่อนช่วย

อย่าแค่ไปแสดงโดยไม่โปรโมท! คุณควรโพสต์ทั้งในโซเชียลส่วนตัวและของวงดนตรี นอกจากนี้อย่ามองข้ามการติดใบปลิวในสถานที่จัดงานหรือการเชิญเพื่อนผ่านการโทรหรือข้อความ บางครั้งคำเชิญที่ส่งให้กันในชีวิตจริงอาจจะมีความหมายมากกว่าการเชิญผ่าน Faceboo

4. ช่วยในการจัดวงดนตรีที่จะร่วมแสดง

แม้จะไม่สำคัญเท่าประเด็นอื่น ๆ แต่ถ้าทำได้ก็ถือเป็นข้อดี โปรโมเตอร์มักจะต้องจัดการหลายงานพร้อมกัน หากคุณสามารถช่วยจองวงดนตรีที่จะแสดงร่วมกับคุณได้ จะช่วยแบ่งเบาภาระโปรโมเตอร์ และยังช่วยให้การแสดงดูต่อเนื่องและเข้ากันมากขึ้น

5. โชว์ฟอร์มเต็มที่

ซ้อมให้พร้อมก่อนขึ้นเวที เพื่อให้การแสดงออกมาดีที่สุด สุดท้ายแล้ว นี่แหละคือสิ่งที่จะทำให้คนอยากมาดูคุณอีกครั้ง และทำให้วงของคุณได้โอกาสไปเล่นงานที่ใหญ่ขึ้น

6. คุยกับโปรโมเตอร์ในคืนแสดง

เมื่อมาถึงที่งาน แนะนำตัวกับโปรโมเตอร์และขอบคุณที่ให้โอกาส พอจบงานก็ขอบคุณอีกที แล้วบอกว่าคุณจะติดต่อไปเพื่อลงวันแสดงรอบหน้า

7. ตามงานหลังแสดง

ทิ้งช่วงสักสองสามวันหลังจากแสดง แล้วส่งอีเมลไปขอบคุณโปรโมเตอร์อีกรอบ และถามถึงวันว่างในอนาคต ถ้าคุณทำแบบนี้กับโปรโมเตอร์หลาย ๆ เจ้า คุณจะมีเส้นทางการแสดงที่ต่อเนื่องให้ตัวเอง

8. อย่าเล่นถี่เกินไป

จัดวันเล่นให้ห่างกันในแต่ละพื้นที่ ถ้าเล่นบ่อยเกินไปในที่เดียวกัน คนดูก็อาจจะแบ่งกันไป คุณควรเริ่มจากการเล่นในงานเล็ก ๆ เพื่อฝึกฝนตัวเองก่อน แต่เมื่อมั่นใจในฝีมือแล้ว ก็อย่าเล่นบ่อยเกินไปในพื้นที่เดิม พยายามไม่เล่นเกินเดือนละหนึ่งครั้ง

จำ 8 ข้อนี้ไว้ แล้วคุณจะสร้างเส้นทางการแสดงสดของตัวเองได้อย่างแข็งแรง!

Rich Nardo is a freelance writer and editor, and is the Director of Public Relations and Creative at NGAGE.